ความหมายของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์
หรือ โรบอต
(robot)
คือเครื่องจักรกลชนิด
หนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน
หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ
ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ
ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ
โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบาก เช่น
งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต
ในปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
และเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิตแตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้
ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น
หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ
หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์
จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์
เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
หุ่นยนต์อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
[ 1 ] หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่
(fixed
robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง
มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ
ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์
[ 2 ] หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้
(mobile
robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่
เพราะสามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา
ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง
เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร
ขององค์การนาซ่า เป็นต้น
ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบัน
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีมากมายหลากหลายรูปแบบ
มีการใช้งานและจุดเด่นที่แตกต่างกัน Modern Manufacturing ขอนำเสนอรูปแบบหุ่นยนต์ที่สามารถเจอได้ในอุตสากรรมการผลิตในยุคปัจจุบัน
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ตามความหมายของ
ISO 8373:2012: หมายถึง
การควบคุมอัตโนมัติ
ความสามารถในการถูกตั้งโปรแกรมหรือการตั้งค่าการทำงานได้อย่างหลากหลายด้วยระบบตั้งแต่
3 แกนขึ้นไป สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบติดตั้งและรูปแบบที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
โดยสามารถจำแนกประเภทได้ตามลักษณะโครงสร้างดังนี้
Linear Robot
Linear
Robot คือ หุ่นยนต์ที่ทำงานบนแกนตั้งฉากซึ่งหมายรวมถึงหุ่นยนต์แบบ
Cartesian และ
Gantry เอาไว้ด้วยกัน
โดยสามารถทำงานได้บน 3 แกน X Y และ
Z ด้วยการเคลื่อนที่แนวตรงทำให้การทำงานมีความแม่นยำสูงและออกแบบการทำงานได้ง่าย
มีความแข็งแกร่งทนทานเนื่องจากมีระยะการใช้งานที่แน่นอน
นิยมใช้ในการหยิบจับเพื่อทำการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
หรือติดชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยสารเคมี
SCARA Robot
SCARA หุ่นยนต์ที่มีความโดดเด่นเรื่องความคล่องแคล่วรวดเร็วแต่มีข้อจำกัดสำหรับระยะการปฏิบัติการณ์
มีข้อต่อขนานกัน 2 จุด
เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนที่ต้องการความรวดเร็วและมีขนาดเล็ก
สิ่งสำคัญสำหรับการใช้งาน SCARA
คือ
การออกแบบระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงจากการคำนวณรูปแบบการทำงาน
สามารถใช้งานได้ดีกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
Parallel Robot
Parallel
Robot หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Delta Robot เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแมงมุม
ใช้การขยับในรูปทรงเรขาคณิตมีจุดเด่นในการขยับและจับชิ้นส่วนได้อย่างแผ่วเบาทำงานได้อย่างอิสระภายใต้แกน
X Y และ
Z เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์
Cylindrical Robot
หุ่นยนต์ที่มีข้อต่อโรตารีอย่างน้อย
1 จุดที่ฐานเพื่อทำการหมุนปรับทิศทาง แขนจับวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยกระบอกนิวแมติก
นิยมใช้ในงานประกอบชิ้นส่วน วิธีการเชื่อมจุด รวมถึงการจัดการเคลื่อง
Articulated Robot
หุ่นยนต์ที่ประกอบด้วยข้อต่อโรตารีตั้ง
3 จุดขึ้นไปและอาจมีมากได้ถึง 10 จุด โดยมากมักพบเจอ Articulated Robot แบบ
6 แกน
สามารถใช้ในสายการผลิตได้อย่างหลากหลายด้วยมิติองศาการทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระ
รวมถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้งานได้ตามลักษณะของสายการผลิตได้อย่างเหมาะสม
รองรับขนาดชิ้นส่วนได้หลากหลายขึ้นกับศักยภาพของรุ่นจากแต่ละผู้ผลิตมือกล
Polar Robot
Polar
Robot หรือ Spherical
Robot หุ่นยนต์ที่ประกอบด้วยข้อต่อโรตารีอย่างน้อย
2 จุด และจุดเชื่อมต่อแบบขนานอย่างน้อย 1 จุด
การทำงานเป็นรูปแบบตายตัวเนื่องจากมีมุมขยับและมิติองศาที่ถูกกำหนดไว้อยู่แล้ว
หุ่นยนต์
อื่นๆ
นอกเหนือจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมหลัก
ๆ 6 ประเภทแล้ว หุ่นยนต์รูปแบบใหม่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองการทำงานอย่างต่อเนื่อง
อาทิ หุน่ยนต์นิ่ม
หรือหุ่นยนต์สองแขนที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น